Logo Main

3 องค์กรสนับสนุนเงินทุน สร้างโอกาส Startup ยกระดับ SMEs ไทย

ในสัปดาห์ที่ 9 ของหลักสูตร ได้รับเกียรติจาก ดร.ชาญวิท ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ ดร.สุรออรถ ศุภจัตุรัส ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) มาเป็นวิทยากรของหลักสูตร 2morrow Scaler รุ่นที่ 7 หลักสูตรการScaleและขยายธุรกิจที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในหลักสูตรของนักธุรกิจที่ดีที่สุดในประเทศไทย จัดโดย บจ. ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน (DURIAN)  ร่วมกับเหล่าพันธมิตร 2morrow Group และ FIRM ปัจจุบันจัดต่อเนื่องจัดมาถึงรุ่นที่ 7 โดยมีเครือข่ายทั้งผู้ประกอบการ นักธุรกิจชั้นนำ และมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรสามารถเติบโตและสามารถแข่งขันได้ในระดับประเทศและนานาชาติ ณ (มหาชน) ณ โรงแรม แลงคาสเตอร์ กรุงเทพ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา

การจะพัฒนานวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จเพื่อนำมาใช้สร้างจุดแข็ง ความแตกต่าง ยกระดับธุรกิจ SME หรือสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ นอกเหนือจากองค์ความรู้แล้ว “เงินทุน” ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนองค์ความรู้ให้ออกมาเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปแบบ เรามาดูกันว่าองค์กรภาครัฐอย่าง TED Funddepa และ NIA มีภารกิจที่ช่วยส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศอย่างไรบ้าง

TED Fund เติมไอเดีย สร้างฝัน เพื่อคนรุ่นใหม่

TED Fund เป็นกองทุนที่อยู่ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ก่อนหน้านี้คือกระทรวงวิทยาศาสตร์ โดยตั้งแต่มีอุดมศึกษามาเกี่ยวข้องด้วยทำให้ทุนของ TED Fund เอง เน้นให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในภาคของอุดมศึกษามากยิ่งขึ้น  ที่ผ่านมาการให้ทุนที่เป็นทุนวิจัยพื้นฐาน ทางองค์กรอยากมีทุนบางตัวที่เชื่อมต่อช่องว่างในส่วนนี้ ในการที่จะให้งานวิจัยออกไปสู่เชิงพาณิชย์ได้  ในทางภาครัฐโดยเฉพาะภาคมหาลัย อีกมิติหนึ่งที่มีงานวิจัยขึ้นมาแล้วตีพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มี TED Fund ขึ้นมา โดยเป็นผู้ให้ทุนน้องใหม่ เราจะมีจุดเด่นของทุนเรา ที่ให้กับผู้ประกอบการอื่น เพิ่มเริ่มเมื่อปี 2559 โดย ดร.ชาญวิทได้มีโอกาสเข้ามาดู TED Fund ในปี 2563

ผู้ประกอบการที่มาขอทุนส่วนใหญ่มีไอเดียหรือเทคโนโลยีที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจอยู่แล้ว จะเป็นจากงานวิจัยในห้องแล็บหรือเปเปอร์ก็ตาม แต่การที่จะทำ Prototype หรือต้นแบบออกมานั้น ไม่ค่อยมีแหล่งเงินทุนที่จะให้กับผู้ประกอบการในส่วนนี้ ซึ่ง Prototype เป็นการพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีนั้นสามารถสเกลขึ้นมาได้ ขณะที่ฝั่งนักลงทุนก็ไม่อยากลงทุนเพราะว่าเป็นเทคโนโลยีที่ Early Stage มาก ๆ ยังมีความเสี่ยงอยู่ จึงเป็นหน้าที่ของ TED Fund ที่จะต้องลงไปช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อจะพิสูจน์แนวคิดและพัฒนาต้นแบบให้สามารถไปต่อได้ในเชิงธุรกิจได้

หน้าที่หลัก ๆ ของ TED Fund คือการให้ทุนแก่ผู้ประกอบการ อีกส่วนหนึ่งคือเน้นทำงานกับภาคมหาลัย ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการสร้างเครือข่ายของคนที่จะเข้ามาสนับสนุนทุนร่วมกัน และผลักดันผู้ประกอบการให้เกิด impact ในระดับประเทศ ส่วนหนึ่งคือต้องเชิญชวนคนมาสมัครทุน

ความต้องการกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทุนของ TED Fund มันไม่ใช่เงินที่จะมาทำวิจัย เหมาะสำหรับคนที่มองในเรื่องธุรกิจ โดยที่มีวิจัยและนวัตกรรมเป็นพื้นฐาน เพื่อนำไปต่อยอดในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ มีเรื่องของการเป็นต้นแบบ การผลิตนำร่อง การมองหาตลาด ส่วนของ TED Fund จะสนับสนุนในตรงนี้  ถ้าในส่วนธุรกิจที่มีการทำวิจัยแบบเข้มข้นเพื่อเน้นการตีพิมพ์เปเปอร์ ไม่สามารถมาขอทุนในส่วนนี้ได้

กลุ่มทุนที่ TED Fund ให้การสนับสนุน เน้นกระจายไปในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ประเทศไทยเก่งในเรื่องทางการแพทย์ การอาหาร ทุนของ TED Fund ก็ครอบคลุมในส่วนนี้ ช่วงแรกของการให้ทุน เน้นให้กับกลุ่มคนทั่วไป นักศึกษาปริญญาตรี โท เอก ในช่วงปี 2559 – 2562 ซึ่งอยู่กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รอยต่อระหว่างปี 2562 – 2563 มีการตั้งกระทรวง อว. ขึ้นมา โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเดิมรวมไปกับมหาลัย

การมี อว. เกิดขึ้นนโยบายในตอนนั้น ท่านรัฐมนตรีอยากให้โฟกัสกับกลุ่มลูกค้าหลัก โดยการออกแบบทุน จากนั้นในช่วงปี 2563 เป็นต้นมา TED Fund สามารถดึงนักศึกษามาเข้าร่วมทุนได้มากขึ้น เป็นความท้าทายในอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะว่าก่อนหน้านี้นักศึกษาในมหาวิทยาลัย เมื่อได้รับทุนแล้วจะไม่ได้ทุนในรูปแบบ Engage ในรูปแบบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเกิดจากโปรเจคที่อาจารย์ให้ทำ ไม่ต้องรับผิดชอบขนาดนั้น บทบาทขององค์กรคือทำอย่างไรให้พวกเขารู้สึกว่านี่คือธุรกิจจริง ๆ และสามารถเติบโตไปกับธุรกิจนี้ได้ นจุดนี้เอง คือ turning point ที่สำคัญขององค์กร กับ Ted to Start up ที่ตั้งขึ้นมา ในปี 2563 และต่อมาในปี 2565 มี Ted Market เกิดขึ้น เป็นทุนที่เน้นให้ผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมนำไปทำ และจะมีทุนใหม่ ๆ ที่เตรียมตัวเปิดในอนาคต

โดยเงื่อนไขในการรับทุนคือการศึกษาอยู่ในระดับปริญญา หรือจบมาแล้วไม่เกิน 5 ปี โดยต้องถือหุ้นในบริษัทหรือนิติบุคคล ที่มาขอทุนกับ TED Fund 30% นี่คือสเกลในการให้ทุน

อีกโครงการหนึ่งคือ TED Fellow ศูนย์บ่มเพาะทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ช่วยในการสรรหาบ่มเพาะ คัดกรอง และเป็นที่ปรึกษาให้คนที่จะมารับทุน ปัจจุบันทั่วประเทศ 59 หน่วย กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค โดยหลัก ๆ ที่องค์กรภูมิใจคือสามารถดึงภาคเอกชนได้ 10 หน่วย ที่สามารถเข้ามาทำงานกับ TED Fund ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก โดยหน่วยที่ทำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นภาคมหาวิทยาลัย ภาคเอกชน มีความกระจายโอกาสไปสู่ภูมิภาค

depa หนุนเศรษฐกิจดิจิทัลไทยก้าวสู่เวทีโลก

(depa) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หน้าที่หลักคือทำเรื่อง Digital transformation ของประเทศในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ ด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ หน้าที่ของ depa คือทำอย่างไรให้ภาคเอกชนมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และสามารถเข้าไปช่วยองค์กรในการทำ Digital Transformation ของประเทศ

หน้าที่หลักของ depa คือทำอย่างไรให้มีสตาร์ทอัพ มีผู้ให้บริการเทคโนโลยี หรือมีผู้ให้บริการต่าง ๆ ในธุรกิจที่สามารถเอา Technology Digital มาใช้ โดยเริ่มจากในส่วนที่ส่งเสริม ร่วมลงทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเงินไปหมุนในการทำธุรกิจ จากนั้นเข้าไปส่งเสริมให้สามารถเข้าไปตลาดภาครัฐและเอกชนได้ เพื่อให้สามารถไปทรานฟอร์มในเซคเตอร์ที่เป็นภาคเกษตร หรือในภาคอุตสาหกรรม ในการที่สามารถทำอย่างนั้นได้ นอกจากเราจากสร้าง Demand ที่มีอยู่แล้ว จากที่ทุกคนอยากใช้ดิจิทัล ขณะเดียวกันเราก็ไปสร้าง Demand เองด้วย

ในการทำโครงการ เช่น Smart City เอาเทคโนโลยีไปสร้างให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บทบาทตั้งแต่ฝั่ง supply size คือการทำให้ Start up มากขึ้น ไปจนถึง demand size คือ ทำอย่างไรให้มีความต้องการของการใช้งานมากขึ้น เวลาเราให้ทุน ลักษณะของการทำงาน การจะทำได้คือเราต้องมีคน การทำได้ต้องมี fast tracker บทบาทของเราคือทำอย่างไรก็ได้ให้เกิด Eco-System ในการสร้างและใช้งาน Digital technology ให้เกิดประโยชน์ เป็นที่มาในการออกแบบทุนต่างๆ เพื่อซับพอร์ตในฝั่งที่เป็น Demand และฝั่ง supply

Smart City แบบพอเพียง สู่ความยั่งยืน

แนวคิดของ Smart City คือ ทุกเมืองสามารถเป็น Smart City ได้ คู่หลักธรรมแบบพอเพียง สู่ความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายพัฒนา 77 พื้นที่ใน 77 จังหวัด ให้เป็น Smart City ภายใน 5 ปี โดยการแก้ปัญหาจากรากฐาน จากความเข้าใจ การมีส่วนร่วมของของภาคประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรและบริการของเมือง ร่วมกันสร้างแบบประชารัฐ บูรณาการทั้งคนและข้อมูล สู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่ มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมีการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม แก้ไขปัญหาได้ตรงตามเป้าอย่างคุ้มค่า

ลักษณะการสนับสนุนของ Depa

ดร.ชินาวุธ กล่าวว่าเป็นความโชคดีที่กฎหมายเราค่อนข้างใหม่ เป็นหน่วยงานที่มีการร่าง พรบ. ใหม่ที่อนุญาตให้เราสามารถทำได้หลายอย่าง ถ้าเทียบกันในหน่วยงานราชการ เราอยู่ใกล้เอกชนที่สุด สามารถเข้าไปร่วมดำเนินการกับเอกชนโดยใช้รูปแบบต่าง ๆ ร่วมเข้าไปถือหุ้น ลงทุน เป็นหน่วยงานที่เข้าไปร่วมรับความเสี่ยงจากธุรกิจ

ให้ทุนเพื่อซับพอร์ต Start up ในการเริ่มต้นธุรกิจ

Depa มีทุนในฝั่งตลาดให้กับผู้ใช้ มี 2 ตัว เรียกว่า Transformation Funds เป็นการไปช่วยให้ SMEs ที่ต้องตัดสินใจในการใช้บริการจาก Start Up ใช้งานง่ายขึ้น ตัวอย่าง Chatgpt เรามี virtual ให้จำนวน 10,000 บาท สามารถไปใช้บริการจาก Start Up ที่ขึ้นทะเบียนกับDepa โดยเชื่อว่าถ้าการใช้บริการแล้วได้รับการบริการที่พอใจทำให้ตัดสินใจใช้ต่อเนื่อง และนอกจากนี้ทาง Depa มีทุนอื่น ๆ อีกมากมาย

NIA เตรียมความพร้อม เสริมสร้างธุรกิจสู่ความสำเร็จ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีระบบบริหารงานที่เป็นอิสระจากระบบราชการ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โอนเงินในส่วนของ “กองทุนพัฒนานวัตกรรม” มาเป็นทุนประเดิมของสำนักงานฯ และในขณะเดียวกันให้บริหาร “เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี” ตามระเบียบกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

NIA เป็นองค์กรที่ส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีนโยบายหลัก ๆ คือ Groom Grant Growth แต่ก่อนเราเชื่อว่าทุกคนทำนวัตกรรมเป็น เราต้อง Grant เงินไปเพื่อให้เขาทำนวัตกรรมขึ้นมา แต่ในความเป็นจริงมีคนอีกจำนวนมากที่ยังทำนวัตกรรมไม่เป็น จึงทำให้เกิด 3 G ขึ้นมา

1. Groom ขึ้นมา เพื่อเตรียมความพร้อม ทำความรู้จักนวัตกรรมทั้งตัวผู้ประกอบการและองค์กร ว่าองค์กรมีความพร้อมในการรับทุนหรือทำธุรกิจทางด้านนวัตกรรม

2.Grant เป็นการเริ่มต้นในการสร้างธุรกิจขึ้นมา โดยการช่วยสร้างโอกาสหรือการเงิน ในสังคมนวัตกรรม

3.Growth เราเชื่อว่านวัตกรรมไม่สามารถขายได้ด้วยตัวเอง ต้องมีการผลักดัน ให้เข้าสู่การScaleได้ ในอดีตเราเชื่อว่าเมื่อคนได้รับ Grant ปุ๊บต้องขายของเป็น จริงๆแล้วจำเป็นต้องมีคนช่วย Growth เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย

3 G เป็นหน้าที่หลักของ สนช. ในการที่ทำให้คนที่ไม่รู้เรื่องนวัตกรรม หรือองค์กรที่ไม่เคยทำนวัตกรรมให้รู้ว่ามีการจัดการองค์กรอย่างไร

3 องค์กรนี้เปรียบเสมือน “เครื่องจักร” ที่อยากเห็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงธุรกิจนวัตกรรมมากขึ้น เพราะโลกในปัจจุบันสามารถขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เพื่อมองเห็นโอกาสในอนาคต โดยองค์กรเหล่านี้พร้อมสนับสนุนทั้งในภาคอุดมศึกษา นักธุรกิจ ที่จะก้าวมาเป็นส่วนช่วยในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าเศรษฐกิจของประเทศไทย

ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่

Website : 2morrowscalerDurianCorp

Facebook : 2morrowscalerDurianCorp

#2morrowScaler #2MS7

#DURIAN #2morrowGroup #FIRM #หลักสูตรผู้บริหาร

#ดร.ชาญวิทตรีเดช #TEDFund #ดร.ชินาวุธชินะประยูร #depa #ดร.สุรออรถศุภจัตุรัส #NIA

Share Article

Related Posts

เปิดรับสมัครแล้ววันนี้!! 2morrow Scaler รุ่นที่ 8

จัดใหญ่ วันปิดหลักสูตร 2morrow Scaler รุ่น 7 พร้อมเหล่า Directors กล่าวจบงานอย่างสวยงาม

2morrow Scaler 7 บุกถ้ำมังกร บริษัท อมิตา โรงงานแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน

พิธีปิดหลักสูตร 2morrow Scaler รุ่น 7 อย่างยิ่งใหญ่ เชิญพรรคการเมืองเปิดนโยบายเศรษฐกิจเลือกตั้ง 66

The Forestias เมืองแห่งความสุขที่อาศัยอยู่บนผืนป่าย่านเมืองกรุง

2morrow Scaler 7 บุกถ้ำมังกร The Forestias by MQDC เมืองแห่งความสุขที่ยั่งยืน